mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
สวทช. ดึงความรู้ความเชี่ยวชาญพัฒนา “ชุดตรวจรับมือโควิด-19”

สวทช. ดึงความรู้ความเชี่ยวชาญพัฒนา “ชุดตรวจรับมือโควิด-19”

0

               สวทช. มุ่งมั่นสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการพัฒนาชุดตรวจโรคต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมเกษตร โดยใช้ตรวจคัดกรองโรคพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เช่น ชุดตรวจโรคปลา ชุดตรวจโรคกุ้ง ชุดตรวจโรคผลเน่าแบคทีเรียของพืชตระกูลแตง หรือแม้แต่ในด้านสาธารณสุข มีการพัฒนาทั้งชุดตรวจคัดกรองพาหะอัลฟาธาลัสซีเมียแบบแถบสี ชุดตรวจหาเชื้อวัณโรค ชุดตรวจเชื้อมาลาเรีย ชุดตรวจเพื่อการคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แบบรวดเร็ว เป็นต้น

               ไม่เว้นแม้แต่โรคอุบัติใหม่ เช่น การระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1 สวทช. พัฒนาชุดตรวจไข้หวัดนกที่รู้ผลอย่างรวดเร็ว กระทั่งปัจจุบันที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 นักวิจัยได้เร่งนำองค์ความรู้เชิงลึกที่สั่งสมจนเป็นความเชี่ยวชาญมาใช้เป็นฐานในการพัฒนาชุดตรวจโควิด-19 หลากหลายรูปแบบ เพื่อช่วยควบคุมการระบาดของโรคท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตของประเทศ

“COXY-AMP” ชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิค LAMP

            ท่ามกลางการระบาดอย่างรุนแรงของโรคโควิด-19 ที่พบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้เทคนิค RT-PCR (Real Time Polymerase Chain Reaction) จะเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจโรคโควิด-19 ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และประสิทธิภาพสูง แต่ก็ยังไม่สามารถตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วและปริมาณมากได้

            นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย นักวิจัยอาวุโส หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. กล่าวว่า ทีมวิจัยพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยและชุดตรวจคัดกรองโรคต่างๆ มากว่า 20 ปี เช่น ชุดตรวจ LAMP Color สำหรับตรวจโรคไวรัสในกุ้ง blueAmp ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิสในปลานิลและปลาทับทิม จนเมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ก็ได้นำเทคนิคที่เป็นความเชี่ยวชาญ คือ Loop-mediated isothermal amplification หรือ LAMP (แลมป์) มาเป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานในการพัฒนาชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว

            “เทคนิคแลมป์เป็นเทคนิคเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต เช่น ถ้ามีสารพันธุกรรมจำนวนน้อยมากจนไม่สามารถตรวจได้ เช่น ไวรัส 1 ตัว ดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอท่อนสั้นๆ เพียง 1 เส้น เทคนิคแลมป์จะช่วยเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมเหล่านี้ได้ถึง 1,000 ล้านเท่า ภายในเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้น”

ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว หรือ COXY-AMP

             สำหรับการพัฒนาชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว หรือ COXY-AMP วรรณสิกา อธิบายว่า ทีมวิจัยได้นำเทคโนโลยีแลมป์มาใช้ร่วมกับสีบ่งชี้ปฏิกิริยาไซลีนอลออเรนจ์ (Xylenol Orange) เพื่อให้สามารถอ่านผลการตรวจด้วยตาเปล่า โดยขั้นตอนการทำงานไม่ยุ่งยาก เพียงใส่ชิ้นส่วนสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอที่สกัดได้จากเยื่อบุในโพรงจมูกหรือลำคอลงในหลอดปฏิกิริยาทดสอบ จากนั้นนำไปเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยการนำไปบ่มในอุปกรณ์กล่องให้ความร้อนซึ่งมีในห้องปฏิบัติการทั่วไป ใช้อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 75 นาที หากตัวอย่างส่งตรวจมีสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2 สีของสารในหลอดปฏิกิริยาจะเปลี่ยนอัตโนมัติคือจากสีม่วงเป็นสีเหลือง แต่ถ้าไม่มีการติดเชื้อ สีของสารละลายจะยังคงเป็นสีม่วง

           “การพัฒนาชุดตรวจโควิด-19 ครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลและยังได้รับความอนุเคราะห์ตัวอย่างสารพันธุกรรมจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของชุดตรวจ ซึ่งพบว่ามีความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำสูง สามารถใช้เวลาตรวจเพียง 75 นาที ซึ่งเร็วกว่า RT-PCR ถึง 2 เท่า รวมทั้งยังมีต้นทุนในการตรวจถูกกว่าแบบ RT-qPCR”

กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช.

            ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกใบรับรองผ่านการประเมินเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ ให้แก่ผลงานวิจัยชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว ภายใต้ชื่อ COXY-AMP และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ บริษัท จีโนมโมเลกุล แลบอราตอรี่ จำกัด (GM Laboratory) ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการผลิต จำหน่ายและเปิดให้บริการตรวจการติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้ว

             วรรณสิกา กล่าวว่า COXY-AMP ชุดตรวจโควิด-19 นอกจากจะสามารถตรวจไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์แอลฟาได้แล้ว ยังสามารถตรวจไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์บีตาและเดลตาได้อีกด้วย เนื่องจากทีมวิจัยได้ออกแบบ Primer ในตำแหน่งที่มีความจำเพาะต่อไวรัส SARS-CoV-2 และเป็นตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับเบสได้ยาก จึงทำให้สามารถตรวจไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ๆ ได้

              COXY-AMP ชุดตรวจโควิด-19 นับเป็นผลงานการวิจัยที่ช่วยใช้คัดกรองเชิงรุกควบคุมโรคโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่อื่นๆ ได้เองในประเทศ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดยกระดับอุตสาหกรรมสู่การผลิตเพื่อส่งออกในอนาคต ที่สำคัญคุณภาพของชุดตรวจยังการันตีด้วยการเป็นหนึ่งเดียวจากภูมิภาคเอเชียที่ผ่านการเข้ารอบ 1 ใน 20 ทีมสุดท้าย ในการประกวดของมูลนิธิ XPRIZE ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับโลก

ชุดตรวจ NANO COVID-19 Antigen Rapid Test

             ดร.ณัฐปภัสร วิริยะชัยพร นักวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซนเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ได้ต่อยอดความสำเร็จจากการพัฒนาชุดตรวจสำหรับตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (NanoFluAB Duplex Rapid Test) สู่ชุดตรวจ NanoCOVID-19 Antigen Rapid Test ซึ่งเป็นชุดทดสอบอย่างง่ายและรวดเร็วสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และผ่านการประเมินประสิทธิภาพจากทาง อย. เรียบร้อยแล้ว

ชุดตรวจ NANO COVID-19 Antigen Rapid Test

             ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน นาโนเทค สวทช. กล่าวว่า ชุดตรวจ NanoCOVID-19 Antigen Rapid Test สามารถตรวจหาแอนติเจนหรือตัวเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ได้ในเวลาเพียง 15 นาที และมีความไวถึง 98% และความจำเพาะสูงถึง 100% ซึ่งสามารถใช้ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 ในเบื้องต้นได้ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณผู้ป่วยที่ต้องตรวจด้วยวิธีการ RT-PCR ที่ต้องใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง โดยผู้ที่ให้ผลบวกด้วยวิธี Antigen Rapid Test นี้ ต้องได้รับการตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR เพื่อยืนยันอีกครั้ง

              พร้อมกันนี้ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ พร้อมด้วย ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง และ ดร.ณัฐปภัสร วิริยะชัยพร ได้ส่งมอบผลงาน “ชุดตรวจ NanoCOVID-19 Antigen Rapid Test” จำนวน 1,000 ชิ้น ให้แก่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรด่านหน้าในการคัดกรองและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะเดียวกันทีมวิจัยนาโนเทคมีความพร้อมและเปิดรับภาคเอกชนเข้ามารับอนุญาตใช้สิทธิ์เพื่อผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์

ชุดตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัส SARS-CoV-2

             นอกจากชุดตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ไบโอเทค สวทช. ยังได้วิจัยพัฒนาชุดตรวจเพื่อหาแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโควิด-19 ในระดับประชากร เพื่อเป็นข้อมูลเชิงสถิติสำหรับการวางแผนฉีดวัคซีน การป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

              ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ หัวหน้าทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช. เล่าว่า ด้วยทีมวิจัยทำงานเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาของสุกรมาก่อน จึงสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาพัฒนาต่อยอดได้ทันท่วงที โดยมีการทำงานร่วมกับทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้ (IMAT) ไบโอเทค ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในแพลตฟอร์มการทำชุดตรวจวินิจฉัย นำเทคโนโลยีที่เป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานคือ ELISA มาพัฒนาชุดตรวจแอนติบอดีต่อ SARS-CoV-2 ที่ง่าย รวดเร็ว แม่นยำ และราคาถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ

ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ หัวหน้าทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช.

             “หลักการของชุดตรวจแอนติบอดีต่อ SARS-CoV-2 คือ ทีมวิจัยเลือกตรวจแอนติบอดีต่อส่วนที่สำคัญที่สุดของไวรัส เป็นส่วนที่ไวรัสใช้จับเข้าเซลล์มนุษย์ในการติดเชื้อ คือ Receptor Binding Domain หรือ RBD ที่อยู่บนโปรตีนสไปค์ (ส่วนที่เป็นหนาม) โดยมีการผลิตแอนติเจน RBD ด้วยวิธีการตัดต่อพันธุกรรมและการผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนให้มีหน้าตาที่เหมือนกันกับโปรตีนของไวรัส แต่ไม่ได้ใช้ชิ้นส่วนจากไวรัสจริงๆ เพื่อความปลอดภัย จากนั้นนำแอนติเจน RBD มาเคลือบลงบนเพลท และใช้สารตรวจจับซึ่งมีปฏิกิริยาทำให้เกิดแสง ดั้งนั้นเมื่อนำตัวอย่างซีรั่ม (Serum คือพลาสมาที่สกัดได้จากเลือดของคนหรือสัตว์) มาตรวจ ถ้าในซีรั่มมีแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันก็จะเป็นเหมือนสะพานที่จับกับแอนติเจน RBD และจับกับสารตรวจจับดังกล่าว พร้อมทั้งส่งสัญญาณแสงเกิดขึ้น แต่หากในซีรั่มไม่มีมีแอนติบอดีที่จำเพาะต่อ RBD ก็จะไม่มีแสงเกิดขึ้น”

ชุดตรวจแอนติบอดีต่อ SARS-CoV-2

            ทั้งนี้ทีมวิจัยได้ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (สวพท.) ทดสอบคุณภาพชุดตรวจแอนติบอดีต่อ SARS-CoV-2 โดยมีการอนุเคราะห์ตัวอย่างซีรั่มมาทดสอบเปรียบเทียบกับชุดตรวจแอนติบอดีทั่วไปในท้องตลาด พบว่ามีความไวและความจำเพาะเทียบเท่ากัน สามารถตรวจระดับภูมิคุ้มกันได้จากการติดเชื้อและการรับวัคซีน รวมทั้งยังมีการสอบเทียบตัวอย่างซีรั่มมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO เพื่อให้มีการอ่านค่าแอนติบอดีในหน่วยเดียวกับที่ WHO ใช้ ปัจจุบันความก้าวหน้างานวิจัยอยู่ระหว่างการยื่นคำขอประเมินเทคโนโลยีจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

              ดร.พีร์ กล่าวว่า ไบโอเทค สวทช. ยังได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำโครงการตรวจระดับภูมิคุ้นกันต่อโปรตีน Spike RBD ของเชื้อก่อโรคโควิด-19 ในบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับวัคซีนเชื้อตาย โดยมีการวิเคราะห์เบื้องต้นมากกว่า 500 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่า ระดับภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม จะมีค่าลดลงครึ่งหนึ่งทุกๆ ประมาณ 40 วัน และหากเกิน 60 วัน ระดับค่าเฉลี่ยภูมิคุ้มกันจะลดลงค่อนข้างมาก รวมทั้งระดับภูมิคุ้มกันมีแนวโน้มลดลงตามช่วงอายุ ทั้งนี้ทีมวิจัยยังคงเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

            “ตอนนี้ชุดตรวจแอนติบอดีต่อ SARS-CoV-2 ยังต้องใช้ตรวจในห้องปฏิบัติการ  ไม่สามารถตรวจเองได้ เพราะยังต้องใช้เครื่องอ่านผล แต่ก็เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่มีในห้องปฏิบัติการทั่วไป รวมถึงโรงพยาบาลขนาดกลาง เนื่องจากเป้าหมายการพัฒนาชุดตรวจแอนติบอดีในช่วงแรกเน้นการตรวจในระดับประชากร ที่มีจำนวนตัวอย่างค่อนข้างเยอะ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสถิติในการอ้างอิง สำหรับการวางแผนการในการป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน”

              ทั้งหมดนี้นับเป็นตัวอย่างผลงานวิจัยและพัฒนาของนักวิจัย สวทช. ที่สามารถนำมาใช้รับมือกับโรคอุบัติใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งยังเป็นผลงานที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล มีราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้ และผลิตได้ในประเทศไทย สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” สาขาสุขภาพและการแพทย์ ที่มุ่งหวังยกระดับการพัฒนายา วัคซีน เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเตรียมพร้อมสร้างความมั่นคงทางด้านสาธารณสุขของไทยอนาคต

ShareTweetShare
Previous Post

“มทร.อีสาน” ร่วมกับ “EA” เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจรในไทย

Next Post

ม.ศิลปากร ใช้นวัตกรรม “พาราโบลาโดม” แก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าการผลิตเมล็ดกาแฟอบแห้ง

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
23
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

3 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
79
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
22
Load More
Next Post
ม.ศิลปากร ใช้นวัตกรรม “พาราโบลาโดม” แก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าการผลิตเมล็ดกาแฟอบแห้ง

ม.ศิลปากร ใช้นวัตกรรม “พาราโบลาโดม” แก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าการผลิตเมล็ดกาแฟอบแห้ง

อว. มอบนวัตกรรม “ห้อง ICU ความดันลบเคลื่อนที่” ให้โรงพยาบาล

อว. มอบนวัตกรรม “ห้อง ICU ความดันลบเคลื่อนที่” ให้โรงพยาบาล

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.