mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว

รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว

0

             สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้น “รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว” นวัตกรรมจากการนำเทคโนโลยีมาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

             สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง ครอบคลุม
ทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย รวมทั้งกลุ่มเปราะบาง และกลุ่ม ‘คนพิการ’ จากการสำรวจความพิการและทุพพลภาพของประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนคนพิการในประเทศไทย ภาพรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ก็ยังพบความเหลื่อมล้ำในกลุ่มคนพิการในหลาย ๆ ด้าน โดยปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคม เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ รายได้ การดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลในทางลบต่อสุขภาพของคนพิการ

           จากปัญหาดังกล่าว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงสนับสนุนทุนวิจัยให้ รองศาสตราจารย์ ดร.ดอน อิศรากร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมการจัดและควบคุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้น “รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการทางการเคลื่อนไหว” ที่เป็นนวัตกรรมจากการนำเทคโนโลยีมาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ให้ทำงานได้เหมือนคนปกติ จนเป็นผลสำเร็จ

            รองศาสตราจารย์ ดร.ดอน อิศรากร กล่าวว่า รถต้นแบบคันแรกได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยการออกแบบให้เครื่องยนต์วางอยู่ด้านหน้า เพื่อให้พื้นที่ด้านหลังของตัวรถอยู่ต่ำ อีกทั้งยังออกแบบให้พื้นที่สำหรับรถเข็น ปรับขึ้นลงได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้คนพิการสามารถดันรถเข็นขึ้นไปบนตัวรถได้สะดวกที่สุด แต่การผลิตรถยนต์สามล้อสำหรับคนพิการ มีเงื่อนไขที่จำกัด ทั้งงบประมาณและเวลา ทำให้การออกแบบ ผลิตและทดสอบนั้นไม่สามารถทำได้หลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เช่นโครงสร้างที่ไม่มีถูกหลักจลนศาสตร์ของยานยนต์ การวางตำแหน่งของเครื่องยนต์ที่ไม่เหมาะสม รูปลักษณ์ภายนอกไม่มีความสวยงาม ไม่ปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถูกหลักเกณฑ์ของขนส่งหลายประการทำให้ไม่สามารถจนทะเบียนได้

              การผลิตรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลสำหรับคนพิการได้ถูกปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมอยู่หลายครั้ง จนมีรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงาม มีความปลอดภัย และผ่านการทดสอบตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของกรมขนส่งทางบกทุกประการ จนสามารถจดทะเบียนได้ แต่ด้วยเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ากําลังเติบโตอย่างยิ่งยวด ทําให้ผู้พิการสนใจและอยากเข้าถึง จึงมีแนวคิดในการออกแบบพัฒนาและผลิตรถสามล้อไฟฟ้าสําหรับคนที่พิการ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนพิการ อีกทั้งสร้างคุณค่าหรือสร้างความเท่า เทียมเทียมกันแก่คนพิการ ให้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่นคนปกติ

              การออกแบบพัฒนาและผลิตรถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับคนพิการใช้เก้าอี้รถเข็นทดแทนการดัดแปลงยานพาหนะอื่น ๆ หรือลดการนำเข้าสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่เป็นยานพาหนะสำหรับคนพิการ คือมีการออกแบบ ผลิตชิ้นส่วน/องค์ประกอบของรถยนต์สามล้อทั้งหมดในประเทศ ทำการทดสอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบกเพื่อให้สามารถจดทะเบียนได้อย่างถูกต้อง เช่น ความสารถในการรับนํ้าหนัก, ความเร็ว, การไต่ทางลาด, วงเลี้ยว ทดสอบเชิงเทคนิคในอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น กำลังขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า, อัตราสิ้นเปลืองพลังงาน, การทดสอบความเร็วในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน, ทดสอบการห้ามล้อในเงื่อนไขที่แตกต่างกัน, ทดสอบใช้งานตามภูมิภาคต่างๆ, ประสิทธิภาพของระบบจ่ายและชาร์จแบตเตอรี่ รวมถึงการออกแบบและพัฒนาวิธีการประจุแบตเตอรี่ทั้งแบบ Normal Charge หรือแบบ Quick Charge ชิ้นส่วนของรถยนต์สามล้อไฟฟ้า เป็นชิ้นส่วนที่หาได้ในประเทศเพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงในอนาคต การออกแบบอุปกรกรณ์ชาร์จที่ตอบสนองการใช้งานกับระบบไฟฟ้าที่ใช้งานทั่วไป และการชาร์จแบตเตอรี่นั้น จะใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน เช่น คอนเน็คเตอร์ ระบบชาร์จที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร

             รถยนต์สามล้อไฟฟ้าสำหรับคนพิการใช้เก้าอี้รถเข็นนี้ ผ่านกระบวนการทดสอบในขณะที่มีน้ำหนักรถและน้ําหนักบรรทุก (คนนั่ง พร้อมเก้าอี้รถเข็นคนพิการ) 90 กิโลกรัม ได้ความเร็วสูงสุด 77 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง และได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องแล้ว องค์ความรู้และต้นแบบที่เกิดขึ้นสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ การผลิตจำนวนมาก (Mass Production) เพื่อรองรับความต้องการของคนพิการที่มีความต้องการใช้ยานพาหนะในการเดินทางและดำเนินชีวิตแบบคนปกติ เช่น ใช้สำหรับเดินทางไปทำงาน ไปทำกิจกรรมหรือกิจธุระต่างๆ ทำให้คนพิการไม่เป็นภาระของครอบครัว/สังคม ยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและการให้โอกาสทางสังคมแก่คนพิการ

ShareTweetShare
Previous Post

มจธ. พัฒนา “คลังสินค้าอัจฉริยะ” ฝีมือคนไทย ถูกกว่านำเข้า

Next Post

หน้ากากประคบเย็น “CARE MASK” นวัตกรรมเพื่อผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

10 months ago
58
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

10 months ago
32
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

10 months ago
127
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

10 months ago
62
Load More
Next Post
หน้ากากประคบเย็น “CARE MASK” นวัตกรรมเพื่อผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์

หน้ากากประคบเย็น “CARE MASK” นวัตกรรมเพื่อผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์

แอป  “Vajira@Home” นวัตกรรมให้ผู้ป่วยพบหมอจากที่บ้าน

แอป “Vajira@Home” นวัตกรรมให้ผู้ป่วยพบหมอจากที่บ้าน

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    99 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.