mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
“M-Pro Jelly Drink” เครื่องดื่มโปรตีนสูงเสริมแคลเซียมจาก “ถั่วเขียว”

“M-Pro Jelly Drink” เครื่องดื่มโปรตีนสูงเสริมแคลเซียมจาก “ถั่วเขียว”

0

            นักวิจัยเอ็มเทคพัฒนาเครื่องดื่มโปรตีนสูงจากโปรตีนถั่วเขียว รับเทรนด์การบริโภคยุคใหม่ เน้นใส่ใจสุขภาพควบคู่รักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งมุ่งใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่มีในประเทศ ใช้เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าให้ของเหลือจากอุตสาหกรรม ตอบโจทย์แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจบีซีจี

            เครื่องดื่มโปรตีนสูงจากถั่วเขียวที่ว่านี้มีชื่อว่า M-Pro Jelly Drink เป็นเครื่องดื่มชนิดเจลที่มีโปรตีนสูงและมีการเสริมแคลเซียมเข้าไปด้วย วิจัยและพัฒนาโดย ดร.ศิริกาญจน์ วิเศษสุวรรณภูมิ นักวิจัยทีมวิจัยวัสดุศาสตร์อาหาร ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

            ดร.ศิริกาญจน์ กล่าวว่า ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีโปรตีนสูงและปลูกมากในประเทศไทย ขณะที่ในอุตสาหกรรมวุ้นเส้นมีผลพลอยได้เป็นกากถั่วเขียวหรือโปรตีนถั่วเขียวเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์โดยไม่ได้ทำให้มีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด จึงคิดว่าหากสามารถนำโปรตีนถั่วเขียวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เครื่องดื่มโปรตีนสูง ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่กากถั่วเขียวที่เหลือจากการผลิตวุ้นเส้นได้

            “ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโปรตีนทั่วไปที่เรารู้จัก เช่น เวย์โปรตีน นม เป็นโปรตีนที่มาจากสัตว์ แต่เทรนด์การบริโภคสมัยใหม่ต้องการความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผู้บริโภคจึงหันมาสนใจโปรตีนจากพืชซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกมากขึ้น แต่เครื่องดื่มโปรตีนทางเลือกส่วนใหญ่มีปริมาณโปรตีนค่อนข้างต่ำ ซึ่งการพัฒนาโปรตีนจากพืชให้มีคุณภาพหรือมีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับโปรตีนจากสัตว์ที่มีแคลเซียมสูง การใช้โนว์ฮาวแบบเก่าไม่สามารถทำได้ เราจึงต้องมีการปรับกรรมวิธีในการผลิต และมีการเพิ่มสารปรับเนื้อสัมผัสเข้าไปเพื่อช่วยคงสภาพของโปรตีนไม่ให้เกิดการตกตะกอนหรือเกิดการแยกชั้น ทำให้เครื่องดื่มมีลักษณะที่น่ารับประทาน และมีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม”

            นักวิจัยได้นำโปรตีนถั่วเขียวมาผ่านกระบวนการผลิตเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดโครงสร้างโปรตีนตามต้องการ ร่วมกับการใช้ไฮโดรคอลลอยด์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการพยุงโครงสร้าง และช่วยในการกระจายตัวของโปรตีนให้คงสภาพได้ดีภายหลังการให้ความร้อนระดับพาสเจอไรซ์ ทำให้ได้เครื่องดื่มโปรตีนสูงชนิดเจลจากโปรตีนพืชที่มีลักษณะปรากฏเป็นเนื้อเดียวกัน และมีเนื้อสัมผัสที่เทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดเจลทางการค้าที่ไม่มีโปรตีนหรือมีโปรตีนในปริมาณที่ต่ำกว่า โดยผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษานาน 2 สัปดาห์ในตู้เย็น และกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาให้สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้นโดยไม่ต้องแช่เย็น

             ทั้งนี้ เครื่องดื่ม M-Pro Jelly Drink มีปริมาณโปรตีนสูงมากกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) หรือร้อยละ 6 โดยน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ และมีการเสริมแคลเซียมกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI)

            “ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม M-Pro Jelly Drink นี้เป็นเครื่องดื่มโปรตีนทางเลือกที่เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการเสริมโปรตีนให้แก่ร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่สามารถดื่มนมวัวได้และผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว รวมถึงกลุ่มนักกีฬาและคนที่ออกกำลังกายที่ดื่มเวย์เป็นหลักอยู่แล้ว และอยากจะเปลี่ยนมาดื่มผลิตภัณฑ์รักษ์โลกหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาจากสัตว์ เครื่องดื่มโปรตีนถั่วเขียวนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง” นักวิจัยให้ข้อมูล

            แนวโน้มอาหารในอนาคตจะมาจากพืชมากขึ้น (Plant Based Food) เพราะเป็นแหล่งอาหารที่ยั่งยืนกว่าอาหารที่มาจากสัตว์ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้บริโภค

            ผู้ประกอบการที่สนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเครื่องดื่ม M-Pro Jelly Drink หรือสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากโปรตีนพืชในรูปแบบต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เอ็มเทค สวทช.

ที่มา : nstda

ShareTweetShare
Previous Post

“ห้องไอซียู โมดูลาร์” ช่วยแพทย์รับมือกับสถานการณ์โควิด-19

Next Post

สจล. เปิดตัว “ AI ตรวจโควิดกลายพันธุ์” รู้ผลภายใน 30 วินาที แม่นยำถึง 99%

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
23
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

3 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
79
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
22
Load More
Next Post
สจล. เปิดตัว “ AI ตรวจโควิดกลายพันธุ์” รู้ผลภายใน 30 วินาที แม่นยำถึง 99%

สจล. เปิดตัว “ AI ตรวจโควิดกลายพันธุ์” รู้ผลภายใน 30 วินาที แม่นยำถึง 99%

จุฬาฯ วิจัย นวัตกรรมยับยั้งมะเร็ง “หุ่นยนต์ชีวภาพ” ลำเลียงสารจากถั่งเช่า สำเร็จ !

จุฬาฯ วิจัย นวัตกรรมยับยั้งมะเร็ง “หุ่นยนต์ชีวภาพ” ลำเลียงสารจากถั่งเช่า สำเร็จ !

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.