“ไมเกรน” โรคยอดฮิตตามติดชีวิตคนวัยทำงาน เป็นอาการที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ ซึ่งสาเหตุของไมเกรนมีหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับสิ่งกระตุ้นอย่าง ความเครียดสูง ฮอร์โมน พักผ่อนไม่เพียงพอ อากาศเปลี่ยนแปลง ความไวต่อแสง เสียง และกลิ่น แต่กระนั้น ‘โรคไมเกรน’ กลับไม่ใช่แค่อาการปวดหัวทั่วไป เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก นอกจากนี้หากมีอาการปวดศีรษะบ่อย จะทำให้เกิดโรคไมเกรนเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลให้เสียสุขภาพจิต มีผลต่อการนอนหลับ เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาโรคไมเกรนให้ประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งผู้ป่วยและแพทย์ในการติดตาม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน การปรับยา
จึงเป็นเหตุผลให้ ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปวดศีรษะจาก University College London (UCL) ทำงานรักษาคนไข้ไมเกรนมากว่า 15 ปี ได้ก่อตั้ง “สไมล์ไมเกรน (Smile Migraine)” ขึ้น โดยพัฒนาการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียและเป็นชุมชนออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังได้สร้างแอพพลิเคชั่นสไมล์ไมเกรนสำหรับคนไข้ไมเกรนโดยเฉพาะ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามอาการปวดศีรษะ วัดระดับความรุนแรงของโรคไมเกรนและปรึกษากับทีมงานที่เชี่ยวชาญได้อย่างสะดวก เพื่อให้ชาวไมเกรน ได้มีนวัตกรรมในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การันตีฝีไม้ลายมือได้จากโครงการ Open Innovation และโครงการม้านิลมังกร โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
แอพพลิเคชั่นสไมล์ไมเกรน จะมีฟังก์ชันการทำงานหลักๆ 4 ฟังก์ชั่น ได้แก่
MIGRAINE RECORD คือระบบบันทึกอาการปวดไมเกรน โดยจะบันทึกระดับอาการปวดศีรษะไมเกรน สิ่งกระตุ้นที่เจอ ยาที่ทาน เพื่อสรุปอาการและติดตามผลการรักษา
MIGRAINE TRACKING เป็นฟังก์ชั่นทึ่ใช้ในการติดตามอาการปวดศีรษะ ซึ่งข้อมูลจะแสดงออกมาในรูปแบบของกราฟ โดยข้อมูลจะระบุถึงระดับอาการปวดศีรษะ ความถี่ของอาการปวด ยาที่รับประทาน รวมถึงสิ่งกระตุ้นและพฤติกรรม ในรูปแบบ 1 เดือน, 2 เดือน และ 6 เดือน และยังมีฟังก์ชั่น MIGRAINE STATUS เพื่อแจ้งให้ทราบว่าระดับไมเกรนของเรามีความรุนแรงระดับใด
MIGRAINE PROFESSIONAL CHAT เป็นฟังก์ชันที่สามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านไมเกรน โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยตอบปัญหาและให้คำปรึกษา พร้อมทั้งเป็นเพื่อนสู้ไมเกรนไปกับคุณ
MIGRAINE COMMUNITY เป็นฟังก์ชันที่รวบรวมบทความเกี่ยวกับโรคไมเกรน โดยสามารถกดถูกใจ แสดงความคิดเห็น และแชร์ส่งต่อไปให้เพื่อนๆได้
วิธีการใช้แอพพลิเคชั่นสไมล์ไมเกรน
ข้อมูลทั่วไป ประกอบไปด้วย ชื่อ-สกุล, อีเมล์, วันเกิด, ส่วนสูง,น้ำหนัก, อายุที่เป็นไมเกรน (อายุที่เป็นไมเกรน คืออายุที่เริ่มมีอาการปวดศีรษะไมเกรน)
พฤติกรรม ดื่มกาแฟเป็นประจำหรือไม่, ออกกำลังกายบ่อยแค่ไหน, นอนหลับไม่เพียงพอเป็นประจำหรือไม่ ? โดยการบันทึกพฤติกรรมจะแจ้งเตือนการปรับพฤติกรรมรายสัปดาห์
ยาทานประจำ ยาที่รับประทานเป็นประจำ จะแบ่งเป็น ยาแก้ปวด และยาป้องกัน
บันทึกระดับอาการปวดศีรษะไมเกรน
ระดับ 1 : ปวดน้อย ไม่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือกิจกรรมประจำวัน
ระดับ 2 : ปวดปานกลาง มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหรือ กิจกรรมแต่ยังไม่มากจนต้องพัก
ระดับ 3 : ปวดมาก มีผลให้ต้องพัก ไม่สามารถทำกิจกรรมได้
บันทึกยาที่รับประทาน ขณะที่มีอาการปวดศรีษะผู้ป่วยรับประทานยาชนิดใดเพื่อบรรเทาอาการปวด โดยจะแบ่งเป็นยาแก้ปวดและยาป้องกัน
บันทึกสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการไมเกรน สิ่งที่มากระตุ้นทำห้เกิดอาการปวดศรีษะ เช่น ความเครียด ชีส ไวน์ การอดนอน นอนไม่เป็นเวลา มีประจำเดือน กลิ่น แสงแดด ความร้อน เป็นต้น
การรายงานผลรายวัน, รายเดือน, ราย 3 เดือน
เมื่อผู้ป่วยบันทึกอาการปวดศีรษะรายวันแล้ว ระบบจะบันทึกและแสดงผลการบันทึกในทันที ซึ่งในแต่ละวันผู้ป่วยสามารถบันทึก อาการปวดศีรษะได้หลายครั้งเมื่อมีอาการกำเริบอีก นอกจากนี้ระบบสามารถรายงานผล เป็นรายเดือนเพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยอาการปวดศีรษะและประเมินการปรับยาได้อีกด้วย
รายงานผลสิ่งกระตุ้น
สิ่งกระตุ้นที่ผู้ป่วยบันทึกไปน้้น ระบบจะประมวลผลและรายงานผลสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการกำเริบบ่อยที่สุด 3 อย่าง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการได้ด้วยตนเอง
แจ้งพฤติกรรมรายสัปดาห์
โรคปวดศีรษะไมเกรน บ่อยครั้งที่อาการกำเริบอันเนื่องจากพฤติกรรมที่ไม่ดีของผู้ป่วย ดังนั้น ระบบจะแจ้งเตือนผู้ป่วยให้หมั่นบันทีกพฤติกรรมรายสัปดาห์ เพื่อให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรม หลีกเลี่ยงอาการปวด
แอพพลิเคชั่นสไมล์ไมเกรน (Smile Migraine) สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้แล้ววันนี้ที่
App Store : https://apps.apple.com/th/app/smile-migraine/id1361725559
Google Play : https://play.google.com/store/apps/details?hl=en_US&id=com.surattanprawate.smilemigraine
ที่มา : https://www.smilemigraine.com/
Discussion about this post