นายประจักษ์ กิติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมาการผู้จัดการ (ฝายพัฒนาผลิตภัณฑ์กับนวัตกรรม) บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด เปิดเผยว่า ในปัจจุบันนี้ ทางบริษัทฯ ได้ การพัฒนาด้านเทคโนโลยี “หม้อแปลงฟ้าระบบจำหน่ายชนิดจมน้ำ” ซึ่งได้รับนวัตกรรมไทย รหัส 07020011 ได้ขึ้นทะเบียน ระหว่างปี 2562-2570 ระยะเวลา 8 ปี มีชื่อทางการค้าของผลงานนวัตกรรมไทย : ว่า หม้อแปลงฟ้าระบบจำหน่ายชนิดจมน้ำ (Submersible Type Distribution Transformer)
โดยหม้อแปลงดังกล่าวมีคุณสมบัติตามที่ระบุในนวัตกรรม ว่า เป็นหม้อแปลงในระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่ใช้ในการปรับลดแรงดันไฟฟ้าที่ส่งผ่านมาตามสายระบบจำหน่าย (Distribution Line) ซึ่งมีแรงดันไฟฟ้าตามระบบไฟฟ้าเท่ากับ 22 กิโลโวลด์ (22 KV) ให้ลงมาอยู่ในระดับที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้า โดยที่หม้อแปลงชนิดนี้เป็นหม้อแปลงแบบน้ำมัน (Oi Type) จะใช้น้ำมันสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นฉนวนในการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรในตัวหม้อแปลงการออกแบบหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายชนิดจมน้ำให้มีการป้องกันการลัดวงจรจากการจมน้ำโดยได้มีการทดสอบตามข้อกำหนดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หัวข้อ Three-phase Submersible Transformers for 22 kV and 33 KV 50 Hz Underground Distribution Systems ซึ่งหม้อแปลงสามารถติดตั้งในห้องหม้อแปลงใต้พื้นดิน ชนิดบ่อเปียก (Wet Vault) ได้ เพื่อรองรับระบบการเดินสายไฟฟ้าใต้ดิน (Underground Cable)
สำหรับหม้อแปลงจมน้ำดังกล่าว มีคุณลักษณะเฉพาะ เป็นวัสดุโครงสร้างตัวถังของหม้อแปลงไฟฟ้าทจากสแตนเลส มีระบบการเดินสายไฟฟ้าแบบสายไฟฟ้าใต้ดิน (Underground Cable) การติดตั้งการใช้งานนั้นติดตั้งในห้องหม้อแปลงใต้พื้นดิน โดยสามารถจ่ายไฟขณะจมน้ำ/ใต้ดินได้ ใช้น้ำมันหม้อแปลงชนิด Less Flammable Oil มีการเชื่อมฝาติดกับตัวถังหม้อแปลง มีการเชื่อมระหว่างบูชซิ่งแรงสูงกับฝาถังหม้อแปลงและมีกล่องครอบบูชชิ่งแรงต่ำโดยเชื่อมท่อร้อยสายไฟแรงต่ำชนิดกันน้ำ พร้อมกล่องครอบสวิทซ์ปรับ Tap ChangerW
อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ การนำระบบสายไฟฟ้าลงดิน มีการพัฒนาไปมาก ที่ผ่านมามีการนำระบบไฟฟ้าลงดินที่การไฟฟ้าดำเนินการอยู่ ทั้งการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แต่การนำสายไฟลงดินนั้นยังคงเหลือหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่คงอยู่เป็นดิน หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดจมน้ำ เป็นนวัตกรรมที่เรานำมาตอบโจทย์สำหรับการจำหน่ายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งหม้อแปลงจมน้ำเหมาะกับพื้นที่ที่มีจำกัดในการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าเช่น พื้นที่ทางเท้าที่แคบ พื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม หรือพื้นที่ที่ต้องการทัศนียภาพสวยงาม ซึ่งการติดตั้งหม้อแปลงชนิดนี้สามารถทำงานในสภาวะจมน้ำ มีความแข็งแรงทนทาน สามารถจมน้ำลึกถึง 3 เมตรเหนือระดับฝาถังหม้อแปลง และหม้อแปลงดังกล่าว ได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยไว้แล้ว โดย บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ที่เป็นผู้คิดคัน และผลิต
ทั้งนี้ระบบสายไฟฟ้าใต้ดินเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบสายส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าไว้ใต้พื้นดิน โดยเดินร้อยท่อฝังดินในโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อรองรับสายเคเบิล และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำส่งไฟฟ้าโดยเฉพาะ จึงมีความปลอดภัยต่อการใช้งานสูง อีกทั้งยังเพิ่มความสวยงามให้กับทัศนียภาพในชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ซึ่งระบบสายไฟฟ้าใต้ดินนั้นจะทำให้ระบบไฟฟ้าใต้ดินมีความปลอดภัยต่อสาธารณะและด้านอัคคีภัย รวมทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมีเสถียรภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียนของกรุงเทพมหานคร
“ทางบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบไฟฟ้าใต้ดินในเมืองหลวงและในแหล่งท่องเที่ยว เราจึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาหม้อแปลงจมน้ำขึ้นมา และถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมไทยอีกชิ้นหนึ่ง ที่ให้พี่น้องประชาชนร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุน ในการเพิ่มศักยภาพให้กับสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองใหญ่ต่างๆให้มีทัศนียภาพสวยงานหลังนำสายไฟฟ้า และหม้อแปลงลงดิน พร้อมทั้งสามารถควบคุม และป้องกันการเกิดอุบัติภัย ทำให้พี่น้อยประชาชนลดความเสี่ยงการเกิดอัคคีภัย พร้อมทั้งเสริมสร้างภูมิทัศน์ดูดี สร้างความยั่งยืนให้กับพลังงานไทย สร้างความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน และปรับทัศนียภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม”
สำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าในปี 2564 ทางบริษัทได้ทำการตลาดอาเซียน มียอดจำหน่าย เฉพาะหม้อแปลงบนดิน 300 ล้านบาท ส่วนในปี 2465 ทั้งยอาเซียน ออสเตรเลีย ยุโรป ตะวันออกกลาง อินเดีย ทางบริษัท กำหนดเป้าหมายการตลาดไว้ 500 บาท ซึ่งในเป้าหมายนี้รวมหม้อแปลงไฟฟ้าบนดินกับหม้อแปลงจมน้ำด้วย ยอดตลาดเราตั้งเป้าเพิ่มขึ้นจากเดิมโตขึ้น ประมาณ 70-80%
Discussion about this post