mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
วว. สร้างศูนย์เรียนรู้จัดการ PPE ใช้แล้วและขยะปลอดเชื้อจากโควิด-19 ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

วว. สร้างศูนย์เรียนรู้จัดการ PPE ใช้แล้วและขยะปลอดเชื้อจากโควิด-19 ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

0

              กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ขับเคลื่อน BCG Model สร้างต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการ PPE ใช้แล้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 และขยะปลอดเชื้ออื่นๆ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันสามขั้นตอน โดยการสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ระบุระบบมีประสิทธิภาพสูง เกิดมลพิษต่ำกว่าการเผาไหม้ทั่วไป มีศักยภาพรองรับวัตถุดิบ 10 ตันต่อวัน เผยในอนาคตมุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่ผู้สนใจ ใช้เป็นต้นแบบสำหรับโรงไฟฟ้าขยะชุมชน เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านสุขอนามัยชุมชน สิ่งแวดล้อมโดยรวมอย่างยั่งยืน

               ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ผลกระทบสำคัญอันหนึ่งที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 คือ การจัดการขยะที่เกิดจากการป้องกันและรักษาโรค ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) ถุงมือยาง หน้ากากอนามัย หมวกคลุมผม ถุงหุ้มรองเท้า รวมไปถึงชุดป้องกันร่างกายที่ใช้เพียงครั้งเดียว (Single Used) ซึ่งการจัดการมูลฝอยติดเชื้อยังมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เช่น ประสิทธิภาพในการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ ข้อจำกัดด้านโครงสร้าง งบประมาณ และบุคลากรของหน่วยงานต้นทางหรือแหล่งกำเนิด ปัจจุบันการจัดการขยะติดเชื้อดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้วิธีการเผา หรือการกำจัดด้วยระบบการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ ก่อนจะนำไปทิ้งเป็นขยะมูลฝอยชุมชนต่อไป ซึ่งวิธีการจัดการเหล่านี้มีข้อจำกัด หากขาดประสิทธิภาพและมาตรฐาน อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขอนามัยชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้

                “…วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงนำผลงานการศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ระบบแก๊สซิฟิเคชันสามขั้นตอนในการกำจัดขยะปลอดเชื้อและเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัทนำวิวัฒน์การช่าง (1992) จำกัด และการสนับสนุนของ บพข. ในการขยายขอบเขตดำเนินงานวิจัยเพิ่มเติม ภายใต้โครงการศึกษาแนวทางเพื่อเปลี่ยน PPE ใช้แล้ว ขยะปลอดเชื้อ ให้เป็นพลังงานโดยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันสามขั้นตอน เพื่อสร้างต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการ PPE ใช้แล้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และขยะปลอดเชื้ออื่นๆ โดยศูนย์เรียนรู้ฯ นี้ ตั้งอยู่ที่ สถานีวิจัยลำตะคอง วว. จังหวัดนครราชสีมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งครุภัณฑ์ คาดว่าจะสามารถเปิดใช้งานเป็นทางการได้ภายในปี 2565 เพื่อช่วยกำจัดขยะจากการป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 และขยะปลอดเชื้ออื่นๆ โดยนำเข้ามาสู่ระบบเพื่อผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดรายได้ สอดคล้องกับนโยบาย BCG Model ของรัฐบาล ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว…” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

              ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวต่อว่า เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันในท้องตลาดโดยส่วนมากเป็นเทคโนโลยีนำเข้าจากต่างประเทศ และส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากปัญหาหลายๆ ด้าน เช่น ปริมาณทาร์และของเสียในระบบมีจำนวนมาก ตลอดจนการต่อต้านของชุมชนเนื่องด้วยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นอกจากนั้นในสถานการณ์การระบาดหนักของโรคโควิด-19 ทำให้ วว. มุ่งเน้นเตรียมความพร้อมเทคโนโลยีให้สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทันที นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าและสร้างความยั่งยืนภายในประเทศ โดย วว. มีแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่ผู้ที่สนใจเพื่อใช้เป็นต้นแบบสำหรับโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์สาธิตการการผลิตพลังงานจากชีวมวลและขยะ ณ สถานีวิจัยลำตะคอง วว. โดยจะอยู่ในรูปแบบที่ปรึกษา

                 ดร.พนิดา เทพขุน นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันสามขั้นตอน (3-Stage Gasification) เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงและเกิดมลพิษต่ำกว่าการเผาไหม้ทั่วไป มีผลพลอยได้จากเทคโนโลยีนี้คือพลังงานทดแทนในรูปพลังงานความร้อนหรือไฟฟ้า เป็นเทคโนโลยีระดับโรงงานต้นแบบ มีศักยภาพรองรับวัตถุดิบ 10 ตันต่อวัน เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวลและของเหลือทิ้ง มีส่วนประกอบหลัก 5 ส่วน ได้แก่ 1.ระบบป้อนและอบแห้งวัตถุดิบ 2.ระบบเตาผลิตแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์ 3.ระบบทำความสะอาดแก๊ส 4.ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ และ 5.เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 กิโลวัตต์ ทั้งนี้เพื่อการบริหารจัดการมูลฝอยปลอดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาได้จริง

             “…วัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการนี้ เพื่อสร้าง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รองรับความต้องการใช้พลังงานในประเทศ สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดการการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานจากฟอสซิล ปัจจุบันเทคโนโลยี 3-State Gasification ของ วว. ได้มีการเดินระบบทดลองใช้กับวัตถุดิบที่หลากหลาย ได้แก่ ไม้สับ ขยะเชื้อเพลิง และขยะปลอดเชื้อ พบว่าการทำงานของระบบเตาผลิตแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์มีประสิทธิภาพการผลิตสูง ดังนั้นในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีการใช้อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อการป้องกันโรคแบบใช้ครั้งเดียวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากนั้น วว. มีความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยี 3-State Gasification เพื่อใช้กำจัดขยะที่เกิดขึ้น ซึ่งการดำเนินงานของ วว. เพียง 1 กระบวนการ ทำให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาหาแนวทางพัฒนากระบวนการกำจัดขยะปลอดเชื้อจากโรงพยาบาลเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดจากการสะสมและการนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้ยังได้ผลพลอยได้เป็นพลังงานทดแทนในรูปของแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้าได้ มากไปกว่านั้นเทคโนโลยี 3-State Gasification ของ วว. ยังผ่านงานวิจัยในเบื้องต้นมาแล้วว่าสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อย…” นักวิจัยอาวุโส วว. กล่าว

                สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับบริการปรึกษาเกี่ยวกับ เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันสามขั้นตอน ติดต่อได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. โทร. 02 577 9000 Call center 0 2577 9300 โทรสาร 0 2577 9009 E-mail : tistr@tistr.or.th

ShareTweetShare
Previous Post

ไบโอเทค สวทช. พัฒนาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 แบบพ่นจมูก

Next Post

NIA เปิดตัว 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศ ต่อยอดสู่ธุรกิจจริง

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

7 months ago
81
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

8 months ago
52
น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า
นวัตกรรมด้านพลังงาน

น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

8 months ago
41
นวัตกรรมฝีมือคนไทย “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon”
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมฝีมือคนไทย “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon”

8 months ago
58
Load More
Next Post
NIA เปิดตัว 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศ ต่อยอดสู่ธุรกิจจริง

NIA เปิดตัว 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศ ต่อยอดสู่ธุรกิจจริง

นวัตกรรมถุงห่อทุเรียน “Magik Growth” เพื่อชาวสวนยุคใหม่ ลดใช้สารเคมี

นวัตกรรมถุงห่อทุเรียน "Magik Growth" เพื่อชาวสวนยุคใหม่ ลดใช้สารเคมี

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
160

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
56

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
29

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
30
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.